คัมภีร์ปัญญา ป.
ไม่สิ้นสุด
หลายคนอาจมีอุดมคติว่า
การทำอะไรแล้วสิ้นสุดลงเอยไปด้วยดีนั้น ถือว่าเป็นการประสบผลสำเร็จในชีวิตอย่างหนึ่ง
แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ "เมธี" ที่สงสัยและเป็นโจทย์ให้เขาคิดตลอดมาเมื่อครั้งที่ได้ฟังคำพูดของหัวหน้าซึ่งเป็นผู้จัดการร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่งที่เขาทำงานอยู่ในปัจจุบัน
หลายวันก่อน เมธีและเพื่อนสนิทอีก ๓ คน
คือ "นิด, ตุ้ย, มน" กำลังคุยกันเรื่อง "การตอบแทนพระคุณพ่อแม่"
อยู่นั้น ได้มีเสียงพูดแทรกขึ้นว่า "กำลังคุยโม้อะไรอยู่จ้าเด็ก ๆ
เสียงดังไปถึงห้องทำงานพี่เลย ให้พี่โม้ด้วยคนได้ไหมเอ๋ย"
พวกเขาจ้องหน้ากันอย่างตกใจพร้อมอุทานขึ้นว่า..."พี่เอก"
(เป็นชื่อของผู้การจัดการร้านอาหาร)
แอบคุยกันในขณะทำงาน ก็เลยตกใจใช่ไหม (พี่เอกถาม
ด้วยน้ำเสียงอมยิ้ม)
กำลังคุยเรื่องการตอบแทนพระคุณพ่อแม่ครับ
(เมธีตอบ) จากนั้น นิด,ตุ้ย,มน พลางตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า
"ใช่ครับ/คะ"
ไหนใครเคยกราบเท้าพ่อแม่บ้าง..? (พี่เอก ถามทุกคน)
หนูเคยล้างเท้าท่านทั้งสองแล้วเอาน้ำที่ล้างเท้ามารดบนศรีษะ
แต่....ลืมกราบคะ (นิดตอบ)
ผมเคยกราบเท้าและทุกวันนี้ก็ยังเลี้ยงดูท่านทั้งสองเป็นอย่างดีครับ
(ตุ้ยตอบ)
หนูเคยกราบเท้าและเช็ดอุจจาระปัสสาวะในยามท่านทั้งสองไม่สบายคะ
(มนตอบ)
แล้วเราล่ะเมธี (พี่เอกเอ๋ยถามเมธีด้วยน้ำเสียงอ่อนหวาน)
เออ...ผมไม่เคยครับพี่ (เมธีตอบด้วยน้ำเสียงเศร้าและรู้สึกสะเทือนใจ)
เอาล่ะ...ใกล้จะถึงวันแม่แห่งชาติแล้ว
ขอให้ทุกคนระลึกถึงพระกรณียกิจของพระราชินีให้มากและที่สำคัญต้องกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ของตัวเองให้ดีนะจ้า
เพราะการตอบแทนบุญคุณของท่านทั้งสอง ผู้ที่เป็นลูกตอบแทนอย่างไรก็ไม่มีวันหมด...แยกย้ายกันไปทำหน้าที่ของตัวเองได้ลูกค้าเริ่มเข้ามาในร้านเยอะแล้ว
(พี่เอกพูดเสร็จแล้วรีบเดินไปต้อนรับลูกค้าที่หน้าร้าน)
กลายเป็นประเด็นให้เมธีครุ่นคิดขึ้นมาทันที
ในวันนั้นเขาไม่มีความสุขในทำงานเลย คิดถึงแต่พ่อแม่ทั้งสองผู้วายชนไปนานแล้ว
เมธีเป็นคนอาภัพมาตั้งแต่เด็ก
พ่อแม่ของเขาตายจากเขาไปด้วยอุบัติเหตุเมื่อตอนอายุได้ ๑ ขวบเศษ ภายหลังต่อมา
ตาและยายได้เลี้ยงดูหลานคนนี้มาเสมือนลูกชายคนหนึ่งของท่าน
ส่งเสียให้เรียนหนังสือจนมีการมีงานทำ จวนมีอายุย่างเข้าวัย ๒๕ ปี ในขณะนี้
แรงบันดาลใจต่าง ๆ เกิดขึ้นจากกำลังใจของตาและยายเสมอมา ยายบอกเขาเสมอว่าอย่าได้คิดน้อยใจตัวเองที่ไม่มีพ่อแม่
ตาและยายจะเป็นพ่อแม่ให้เอง
เลือดทุกหยดเนื้อทุกก้อนกระดูกทุกชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของตาและยาย จงภูมิใจเถิดที่มีตาและยายคอยอยู่เคียงข้างและพร้อมที่จะรับฟังปัญหาของเมธีตลอดไป
วันหยุดพักร้อน ๓ วัน ซึ่งตรงกับวันที่
๑๑,๑๒,๑๓ สิงหาคม
ในครั้งนี้เมธีตัดสินใจกลับบ้านที่ต่างจังหวัดอย่างไม่กังวลใจเพราะคิดถึงตาและยายใจจะขาด
หลายผ่านมาแล้วที่ไม่ได้กลับไปเยี่ยมท่านทั้งสอง
ได้แต่ส่งเงินให้ทุกเดือนและตามโอกาสอันเหมาะสม
อีกมุมหนึ่งโดยส่วนตัวแล้วเมธีเป็นคนที่ชอบในการประพันธ์หรือการแต่งโคลง,ฉันท์,กาพย์,กลอน
โดยเฉพาะการแต่งโคลง ๔ สุภาพแบบประยุกต์หรือการแต่งแบบนอกกรอบเพื่อให้อ่านและเข้าใจง่าย
ในช่วงที่เมธีได้เดินทางมาอยู่ที่กรุงเทพเพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขาได้เลือกเรียนคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
การจากบ้านเกิดมาหลายปีทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนอะไรที่สร้างสรรค์ได้ อย่างเช่นโคลง
๔ สุภาพ ที่ชื่อว่า "คิดถึงบ้านเกิด" บทนี้
...จำใจจากถิ่นบ้าน เยาว์วัย ท่านเอย
ลงล่องใต้เหนือนัย ร่ำรู้
ปลุกปล้ำฝ่าอาลัย พลัดพร่ำ วิโยค
เพียรกร่ำขยันสู้ ไขว่คว้าศึกษา ฯ
ลงล่องใต้เหนือนัย ร่ำรู้
ปลุกปล้ำฝ่าอาลัย พลัดพร่ำ วิโยค
เพียรกร่ำขยันสู้ ไขว่คว้าศึกษา ฯ
ขณะที่ศึกษาหาความรู้เขาเกิดท้อถ้อยและหมดกำลังใจแต่ไม่สร้างแรงใจขึ้นมาใหม่
จึงได้แต่งโคลง ๔ สุภาพ เพื่อไว้เตือนสติตัวเอง ว่า
"ไม่ท้อถ้อย"
...เหล่าหมู่ญาติพี่น้อง ปู่ตา ย่ายาย
ข้าวุ่นสิเนหา สู่ห้วง
นิวัตต์เมื่อจบท่า เกล้าใฝ่ ปริญญ์
ควรค่ายืนหยัดท้วง กอปรกู้สร้างสรรค์ ฯ
เมธีเป็นคนชอบมองอะไรแล้วนำมาสอนตัวเองเสมอ
กล่าวคือเป็นคนชอบเปรียบเทียบบางสิ่งบางอย่างที่ตรงข้ามกัน โดยถ่ายทอดเป็นโคลง ๔
สุภาพ ว่า
"จะเป็นคนเช่นไร"
...จะเป็นคนเช่นกล้วย ไม้ลือ กาฝาก
เกาะที่ไหนแย่งยื้อ นั่นแท้
กล้วยไม้แบ่งบานคือ ความเด่น เบิกใจ
เกาะที่ใดพ่ายแพ้ เช่นไม้กาฝาก ฯ
...ควรเป็นคนเช่นกล้วย ไม้ที่ สวยงาม
มีแต่ผู้คนปรีย์ ไขว่คว้า
ไม่เอาเยี่ยงกาผี เกาะกิ่ง ไม้ตาย
พาด่างพล่อยหม่องหน้า ค่าสิ้นไม่มี ฯ
ครั้งหนึ่ง
ได้เดินทางไปจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อศึกษาดูงาน ในช่วงนั้นเป็นฤดูแล้ง(ใบไม้ผลิ)
เมธีเห็นภูเขาที่เต็มด้วยไฟป่าลุกลามไปทั่วทั้งป่าเกิดความสังเวชขึ้น ว่า
"ฤดูใบไม้ผลิ"
...บรรพตสูงเสียดฟ้า นิลสี ทิวทัศน์
สง่างามขจี แผ่นคิ้ว
เห็นระลิ่วอัคคี ภัยน่า ผวา
ผลิบั่นบรรณใบพลิ้ว ร่วงแล้งสังเวช ฯ
...เหมือนประหนึ่งดั่งถ้อย หหัย องค์ตรัส
...บรรพตสูงเสียดฟ้า นิลสี ทิวทัศน์
สง่างามขจี แผ่นคิ้ว
เห็นระลิ่วอัคคี ภัยน่า ผวา
ผลิบั่นบรรณใบพลิ้ว ร่วงแล้งสังเวช ฯ
...เหมือนประหนึ่งดั่งถ้อย หหัย องค์ตรัส
ที่ว่าพระงูไฟ กับทั้ง
พระเจ้าอยู่หัวไท้ สี่สิ่ง นี้หนา
ฤทธิ์แกร่งอย่าพลาดพลั้ง ด่าเก้อปรามาส ฯ
เขาได้ข้อคิดจากสัตว์แมลงเช่น
"ผึ้ง" ธรรมดาผึ้งเป็นแมลงที่มีความขยันและอดทน
จึงเปรียบผึ้งผ่านอารมณ์ที่สุนทรี ว่า
"ชีวิตผึ้ง"
...คนควรเป็นดั่งผึ้ง ขยัน ขันแข็ง
ถูกที่รู้รักกัน เที่ยวค้น
ปรบปีกแล่นบินพลัน พบพร่ำ น้ำหวาน
เพียรหมั่นโดยชอบล้น ส่งพ้นเป้าหมาย ฯ
ความใฝ่ฝันที่อยากเป็น "นักกวีสมัครเล่น"
คนหนึ่ง ดั้งนั้น เขาจึงไม่หยุดนิ่งในการเสาะแสวงหาความรู้อยู่เสมอ เจออะไรที่ไหนก็คิดและถ่อยทอดเป็นร้อยกรองไปหมด
สมัยที่ยังศึกษาอยู่ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษา โดยใช้ภาษาเป็นภาษาถิ่น ว่า
"ความสำคัญของการศึกษา"
...เรียนศึกษาหมั่นฮู้ บ่สาย เพื่อนเอย
พึงครุ่นคิดสบาย เพื่อสร้าง
รากฐานไม่เสื่อมคลาย ประเสริฐ เทียวแล
จุดมุ่งหมายสูงกว้าง แล่นก้าวสำเร็จ ฯ
ในบางครั้งอารมณ์ของความผิดหวังที่สุดหรืออกหักจากหญิงซึ่งเป็นคนรักที่ไว้เนื้อเชื่อใจ
ทำให้ไม่สามารถจะพูดออกมาได้ อึดอัดตันอุราพาให้ใจเศร้าหมองไม่รู้ว่าจะระบายและเล่าให้ใครฟัง
จึงเปรียบอารมณ์หญิง ดังนี้ ว่า
"อารมณ์หญิง"
...อันวารีแม่น้ำ สมุทร วิตถาร
เปรียบดั่งอารมณ์หลุด สุดเศร้า
หญิงใดไม่โทษทุษ ประเสริฐ นักแล
หญิงนั่นรุ่งโรจน์เก้า หยิ่มยิ้มปรีดา ฯ
เปรียบดั่งอารมณ์หลุด สุดเศร้า
หญิงใดไม่โทษทุษ ประเสริฐ นักแล
หญิงนั่นรุ่งโรจน์เก้า หยิ่มยิ้มปรีดา ฯ
การได้เห็นเพื่อนมีความสุขกับครอบครัวที่สมบูรณ์มีพ่อแม่ที่ยังคอยเป็นห่วงเป็นใย
ส่งข่าวคราวมาให้รับรู้รับทราบ เพื่อน ๆ ที่เป็นความหวังของพ่อแม่รอความสำเร็จของลูก
ๆ กลับมา นี่คือความภาคภูมิที่ดีอย่างหนึ่งของความเป็นพ่อแม่
การเห็นเช่นจึงสะท้อนเกิดประกายความคิดผ่านโคลง ๔ สุภาพ บทนี้ ว่า
"รำพันถึงบิดรมารดา"
...รำพึงถึงแม่เพ้อ ถึงพ่อ คณา
สอนสั่งลูกวรขอ กล่าวไว้
เป็นขวัญที่หวังรอ บุตรหน่อ สำเร็จ
มุ่งส่งแรงใจให้ ครุ่นค้นบุตรา ฯ
...รำพึงถึงแม่เพ้อ ถึงพ่อ คณา
สอนสั่งลูกวรขอ กล่าวไว้
เป็นขวัญที่หวังรอ บุตรหน่อ สำเร็จ
มุ่งส่งแรงใจให้ ครุ่นค้นบุตรา ฯ
ชีวิตของคนเรานั้นสั้นนัก
เมื่อมีโอกาสได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา "อัปปมาทธรรม"
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเป็นพระดำรัสสุดท้ายก่อนที่จะปรินิพพาน ซึ่งเป็นธรรมที่ประเสริฐ
เลิศ ดี และงามพร้อม อันเป็นเหตุและผลที่หลาย ๆ คนลืมหรือประมาทพลาดพลั้งไป
อัปปมาทธรรม ดังกล่าว ได้ถ่ายทอด ดังนี้ ว่า
"ไม่ควรประมาท"
...ชีวิตใครเล่ารู้ กทา อาสัญ
พึงใคร่ครวญสัมมา อยู่ด้วย
ประมาทไม่กามา จงเร่ง กอปรสร้าง
ปลูกบ่มบุญใกล้ม้วย ก่อนสิ้นชีวา ฯ
ผ่อนคลายด้วยการไปเที่ยวชมสวนสาธารณะหรือสวนราชพกฤกษ์ในสถานที่ต่าง
ๆ หรือห้วยเขาลำเนาไพร อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน
สถานที่เหล่านี้เป็นแหล่งพักใจชั้นเยี่ยม ที่ก่อให้เกิดความปีติยินดีอย่างมาก คือเป็นความสุขแบบไม่รู้จะอธิบายอย่างไร
อารมณ์กวีสมัครเล่นจึงออก ว่า
"รมณียสถาน"
...อันผาสุกชุ่มชื้น ร่มรื่น ครื้นเครง
ที่พึ่งพาผู้อื่น สู่ข้า
พิงพักเมื่อข่มขืน โอนอ่อน ผ่อนใจ
เคียงคู่ยามเหวว้า ย่อมย้ำนิเวสน์ ฯ
ในค่ำคืนที่ดาวเข้ามาใกล้เดือน
ดาวเกี้ยวเดือน และดาวเคียงเดือน กล่าวคือ ในคืนที่พระจันทร์เต็มดวงมีหมู่ดาวคอยแวดล้อมส่องประกายระยิบระยับเปล่งปลั่งไปทั่วท้องฟ้า
ว่า
"ชมดวงจันทร์หมู่ดาว"
...ศศิธรแจ่มแจ้ง นภา อากาศ
อร่ามงามนัยต์ตา ค่ำนี้
ดวงดาวหมู่ตารา เปล่งปลั่ง เต็มฟ้า
นวลผ่องสวยสดชี้ ส่องหล้าไสว ฯ
เช้าวันที่ ๑๒ สิงหาคม (วันแม่แห่งชาติ)
เมธีเดินทางถึงบ้านที่ต่างจังหวัดโดยสวัสดิภาพ ทันทีที่มาถึงหน้าบ้าน
ภาพที่เขาได้เห็นคือบรรดาญาติผู้ใหญ่โดยเฉพาะตาและยายยืนข้างหน้าจ้องมองมาด้วยความดีใจ
ตาและยายน้ำตาคลอ เมธีไม่รอช้ารีบคุกเข่าลงกราบแทบเท้าของปูชนียบุคคลคือตาและยาย
ท่านทั้งสองเป็นเหมือนพ่อและแม่ของเขา
คิดถึงตาและยายมากเลยครับ (เมธีพูดด้วยน้ำเสียงที่ปลาบปลื้ม)
เราสองคนก็คิดถึงหลานเช่น (ยายพูดด้วยน้ำเสียงที่ปีติยินดีปราโมทย์พร้อมกับลูบศรีษะเบา
ๆ)
ในวันนั้นนั่นเอง
ตาและยายพาครอบครัวรวมถึงเมธีหลานรักไปทำบุญที่วัดประจำหมู่บ้าน เพราะเหตุว่า
วันนั้นเป็นวันพระ และถือโอกาสทำบุญให้พ่อแม่ที่ละจากโลกนี้ไปแล้ว
"พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร" พ่อแม่นั้น มีอุปการะต่อลูกเป็นอย่างมาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
พ่อแม่เปรียบเหมือนพระพรหม เพราะว่าลูก ๆ
ไม่สามารถที่จะตอบพระคุณของท่านทั้งสองให้สิ้นสุดได้ ดังนั้น
การตอบแทนพระคุณพ่อแม่จึงไม่มีวันสิ้นสุด...ไม่สิ้นสุด ๆ
(ใจความความย่อที่พระภิกษุแสดงธรรมเทศนา
ขณะที่นั่งฟังในศาลาการเปรียบพร้อมกับตาและยายและญาติในวันนั้น)
หลักจากกลับมาจากบ้านเกิดแล้ว
เมธีได้ข้อคิดและอุดมคติอะไรหลาย ๆ อย่างในการกลับบ้านครั้งนี้ ได้ทั้งความรัก
กำลังใจ และได้รู้ในเรื่องราวหรือคำสอนที่ไม่เคยรู้มาก่อน
พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจ เข้าถึง และปฏิบัติได้อย่างไม่มีข้อสงสัย โดยเฉพาะในเรื่องของพระคุณของพ่อแม่ใหญ่หลวงยิ่งนัก
ไม่มีสุขไหนเท่ากับการบรรยายถ่ายทอดออกมาได้ จึงแต่งเป็นโคลง ๔ สุภาพ
อย่างภาคภูมิใจ ว่า
"ไม่สิ้นสุด"
...หากจะให้แม่นั้น เกาะบ่า ลูกไว้
แลนั่งถ่ายกรีสา อย่างนี้
แม้ทำอยู่เวลา กาลล่วง ร้อยปี
ก็ไม่สามารถชี้ ตอบแท้คุณท่าน ฯ
...ถ้าลูกทำแม่ให้ ตั้งอยู่ ในบุญ
ให้พึ่งธรรมเป็นคู่ บ่มสร้าง
ศีลทานมั่นส่งสู่ พาท่าน สุขใจ
ทำเช่นนี้เคียงข้าง แม่ได้ลูกดี ฯ
(เนื่องใน
"วันแม่แห่งชาติ ๕๗")
ขอความสวัสดี จงมีแก่ผู้อ่านทุกท่าน ครับ...........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น