วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
บทกวี "เตวีสะติ มมร ล้านนา" โดย คัมภีร์ปัญญา ป.
"เตวีสะติ มมร ล้านนา"
เตวีสะติครบรอบกาลฝน บรรลุผลเป้าหมายปรารถนา
มหามกุฏราชนามา แห่งล้านนาเชียงใหม่นครพิงค์
ศิษยาพร้อมน้อมรำลึกคุณ ผู้ค้ำจุนหนุนนำทำทุกสิ่ง
ศิลปะนานามิชังชิง ที่พึ่งพิงอนุศาสตร์สิสสา
ให้คัมภีร์ปัญญาสุขุมลึก ให้รู้สึกรู้ซึ้งศาสนา
ให้ศึกษาพระไตรปิฏกา ให้ธัมมาเป็นหลักประจำจิต
มีพระเดชพระคุณผู้เป็นปราชญ์ นามว่า"ราชพิศาลมุนี"ฐิต
ผู้อบรมสั่งสอนสร้างบัณฑิต ผู้ลิขิตทิศทางสงบใจ
ศาสตราจารย์พิเศษผู้เลิศแจ้ง นามว่า"แสงจันทร์งาม"น่าเลื่อมใส
ผู้ทรงคุณวุฒิปราชญ์วิไล ผู้อำไพในธรรมโฆสา
พระครูวุฒิธรรมาภิวัฒน์ ปฏิบัติวัตตามิกังขา
ผู้สืบสานทายาทประสิทธา ผู้นำพาบัณฑิตสู่สังคม
ท่านพระครูปลัดจิตติชัย คือผู้ให้ชีวิตประสบสม
ผู้ถ่ายทอดความรู้น่าชื่นชม ธรรมรื่นรมย์ชี้ทางสว่างใจ
ท่านอาจารย์กมลบุตรชารี มีพาทีเลิศล้ำตามวิสัย
เป็นนักอบนักรมบ่มหทัย ฝึกฝนให้เหล่าศิษย์นั้นได้ดี
พระครูวิทิตศาสนาทร ผู้บวรเอื้อเฟื้อประเสริฐศรี
ผู้พรั่งพร้อมความรู้คู่เมธี มีไมตรีแก่เราผู้ข้าน้อย
ท่านพระอาจารย์มหาสกุล ผู้การุณสุนทานมิย้อถอย
ผู้ที่นักศึกษาควรเฝ้าคอย ผู้ยิ้มย้อยหวานชื่นระรื่นตา
ท่านพระอาจารย์มหาวิเศษ ผู้สังเกตกล่าวถ้อยคำกถา
มีความเพียรวะชิระปัญญา สู้ฝันฝ่าไขว่คว้าอุดมการณ์
ท่านอาจารย์มหาวีรศักดิ์ สุดที่จักพรรณนาขับขาน
ผู้แกล้วกล้าวิชามาช้านาน ผู้เชี่ยวชาญหลักธรรมพระสัมมา
รองศาสตราจารย์เขียนผู้ชำนาญ ผู้กอปรการสานวัตรการศึกษา
ผู้เข้าถึงถิ่นชนปทา อารักขาธรรมเนียมประเพณี
วรรณคดีเปี่ยมสุดคณา รองศาสตราจารย์ปราญช์มิหน่ายหนี
ท่านผู้มากล้นสัพพเมธี ชื่อนามนี้ว่า"อัครชัย"
รองศาสตราจารย์ ดร.ตระกูล ผู้พอกพูนส่งเสริมมิหวั่นไหว
ผู้ก่อตั้งกีฬาวิทยาลัย ให้ก้าวไกลสู่รั่วทัวนาเมนท์
ท่านอาจารย์สมัครใจมาแก้ว ผู้มีแนวโน้มน้าวเมื่อพบเห็น
เป็นรองศาสตราจารย์ตามกฎเกณฑ์ จะขอเอนกายอ่อนผ่อนหายใจ
ดังบทกลอนวัตถุพรรณนา มินำมากล่าวขานอีกมากหลาย
หากยังมีเรี่ยวแรงอยู่มิวาย จักถวายคำกลอนเพื่อบูชา
ยี่สิบสามปีแห่งความดีครบ ที่บรรจบสบสิ่งการศึกษา
มีอัตถาธิบายมหิมา ศิษยาระลึกคุณอาจารย์ ฯ
เรื่องสั้น "ไม่สิ้นสุด" โดย คัมภีร์ปัญญา ป.
คัมภีร์ปัญญา ป.
ไม่สิ้นสุด
หลายคนอาจมีอุดมคติว่า
การทำอะไรแล้วสิ้นสุดลงเอยไปด้วยดีนั้น ถือว่าเป็นการประสบผลสำเร็จในชีวิตอย่างหนึ่ง
แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ "เมธี" ที่สงสัยและเป็นโจทย์ให้เขาคิดตลอดมาเมื่อครั้งที่ได้ฟังคำพูดของหัวหน้าซึ่งเป็นผู้จัดการร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่งที่เขาทำงานอยู่ในปัจจุบัน
หลายวันก่อน เมธีและเพื่อนสนิทอีก ๓ คน
คือ "นิด, ตุ้ย, มน" กำลังคุยกันเรื่อง "การตอบแทนพระคุณพ่อแม่"
อยู่นั้น ได้มีเสียงพูดแทรกขึ้นว่า "กำลังคุยโม้อะไรอยู่จ้าเด็ก ๆ
เสียงดังไปถึงห้องทำงานพี่เลย ให้พี่โม้ด้วยคนได้ไหมเอ๋ย"
พวกเขาจ้องหน้ากันอย่างตกใจพร้อมอุทานขึ้นว่า..."พี่เอก"
(เป็นชื่อของผู้การจัดการร้านอาหาร)
แอบคุยกันในขณะทำงาน ก็เลยตกใจใช่ไหม (พี่เอกถาม
ด้วยน้ำเสียงอมยิ้ม)
กำลังคุยเรื่องการตอบแทนพระคุณพ่อแม่ครับ
(เมธีตอบ) จากนั้น นิด,ตุ้ย,มน พลางตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า
"ใช่ครับ/คะ"
ไหนใครเคยกราบเท้าพ่อแม่บ้าง..? (พี่เอก ถามทุกคน)
หนูเคยล้างเท้าท่านทั้งสองแล้วเอาน้ำที่ล้างเท้ามารดบนศรีษะ
แต่....ลืมกราบคะ (นิดตอบ)
ผมเคยกราบเท้าและทุกวันนี้ก็ยังเลี้ยงดูท่านทั้งสองเป็นอย่างดีครับ
(ตุ้ยตอบ)
หนูเคยกราบเท้าและเช็ดอุจจาระปัสสาวะในยามท่านทั้งสองไม่สบายคะ
(มนตอบ)
แล้วเราล่ะเมธี (พี่เอกเอ๋ยถามเมธีด้วยน้ำเสียงอ่อนหวาน)
เออ...ผมไม่เคยครับพี่ (เมธีตอบด้วยน้ำเสียงเศร้าและรู้สึกสะเทือนใจ)
เอาล่ะ...ใกล้จะถึงวันแม่แห่งชาติแล้ว
ขอให้ทุกคนระลึกถึงพระกรณียกิจของพระราชินีให้มากและที่สำคัญต้องกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ของตัวเองให้ดีนะจ้า
เพราะการตอบแทนบุญคุณของท่านทั้งสอง ผู้ที่เป็นลูกตอบแทนอย่างไรก็ไม่มีวันหมด...แยกย้ายกันไปทำหน้าที่ของตัวเองได้ลูกค้าเริ่มเข้ามาในร้านเยอะแล้ว
(พี่เอกพูดเสร็จแล้วรีบเดินไปต้อนรับลูกค้าที่หน้าร้าน)
กลายเป็นประเด็นให้เมธีครุ่นคิดขึ้นมาทันที
ในวันนั้นเขาไม่มีความสุขในทำงานเลย คิดถึงแต่พ่อแม่ทั้งสองผู้วายชนไปนานแล้ว
เมธีเป็นคนอาภัพมาตั้งแต่เด็ก
พ่อแม่ของเขาตายจากเขาไปด้วยอุบัติเหตุเมื่อตอนอายุได้ ๑ ขวบเศษ ภายหลังต่อมา
ตาและยายได้เลี้ยงดูหลานคนนี้มาเสมือนลูกชายคนหนึ่งของท่าน
ส่งเสียให้เรียนหนังสือจนมีการมีงานทำ จวนมีอายุย่างเข้าวัย ๒๕ ปี ในขณะนี้
แรงบันดาลใจต่าง ๆ เกิดขึ้นจากกำลังใจของตาและยายเสมอมา ยายบอกเขาเสมอว่าอย่าได้คิดน้อยใจตัวเองที่ไม่มีพ่อแม่
ตาและยายจะเป็นพ่อแม่ให้เอง
เลือดทุกหยดเนื้อทุกก้อนกระดูกทุกชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของตาและยาย จงภูมิใจเถิดที่มีตาและยายคอยอยู่เคียงข้างและพร้อมที่จะรับฟังปัญหาของเมธีตลอดไป
วันหยุดพักร้อน ๓ วัน ซึ่งตรงกับวันที่
๑๑,๑๒,๑๓ สิงหาคม
ในครั้งนี้เมธีตัดสินใจกลับบ้านที่ต่างจังหวัดอย่างไม่กังวลใจเพราะคิดถึงตาและยายใจจะขาด
หลายผ่านมาแล้วที่ไม่ได้กลับไปเยี่ยมท่านทั้งสอง
ได้แต่ส่งเงินให้ทุกเดือนและตามโอกาสอันเหมาะสม
อีกมุมหนึ่งโดยส่วนตัวแล้วเมธีเป็นคนที่ชอบในการประพันธ์หรือการแต่งโคลง,ฉันท์,กาพย์,กลอน
โดยเฉพาะการแต่งโคลง ๔ สุภาพแบบประยุกต์หรือการแต่งแบบนอกกรอบเพื่อให้อ่านและเข้าใจง่าย
ในช่วงที่เมธีได้เดินทางมาอยู่ที่กรุงเทพเพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขาได้เลือกเรียนคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
การจากบ้านเกิดมาหลายปีทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนอะไรที่สร้างสรรค์ได้ อย่างเช่นโคลง
๔ สุภาพ ที่ชื่อว่า "คิดถึงบ้านเกิด" บทนี้
...จำใจจากถิ่นบ้าน เยาว์วัย ท่านเอย
ลงล่องใต้เหนือนัย ร่ำรู้
ปลุกปล้ำฝ่าอาลัย พลัดพร่ำ วิโยค
เพียรกร่ำขยันสู้ ไขว่คว้าศึกษา ฯ
ลงล่องใต้เหนือนัย ร่ำรู้
ปลุกปล้ำฝ่าอาลัย พลัดพร่ำ วิโยค
เพียรกร่ำขยันสู้ ไขว่คว้าศึกษา ฯ
ขณะที่ศึกษาหาความรู้เขาเกิดท้อถ้อยและหมดกำลังใจแต่ไม่สร้างแรงใจขึ้นมาใหม่
จึงได้แต่งโคลง ๔ สุภาพ เพื่อไว้เตือนสติตัวเอง ว่า
"ไม่ท้อถ้อย"
...เหล่าหมู่ญาติพี่น้อง ปู่ตา ย่ายาย
ข้าวุ่นสิเนหา สู่ห้วง
นิวัตต์เมื่อจบท่า เกล้าใฝ่ ปริญญ์
ควรค่ายืนหยัดท้วง กอปรกู้สร้างสรรค์ ฯ
เมธีเป็นคนชอบมองอะไรแล้วนำมาสอนตัวเองเสมอ
กล่าวคือเป็นคนชอบเปรียบเทียบบางสิ่งบางอย่างที่ตรงข้ามกัน โดยถ่ายทอดเป็นโคลง ๔
สุภาพ ว่า
"จะเป็นคนเช่นไร"
...จะเป็นคนเช่นกล้วย ไม้ลือ กาฝาก
เกาะที่ไหนแย่งยื้อ นั่นแท้
กล้วยไม้แบ่งบานคือ ความเด่น เบิกใจ
เกาะที่ใดพ่ายแพ้ เช่นไม้กาฝาก ฯ
...ควรเป็นคนเช่นกล้วย ไม้ที่ สวยงาม
มีแต่ผู้คนปรีย์ ไขว่คว้า
ไม่เอาเยี่ยงกาผี เกาะกิ่ง ไม้ตาย
พาด่างพล่อยหม่องหน้า ค่าสิ้นไม่มี ฯ
ครั้งหนึ่ง
ได้เดินทางไปจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อศึกษาดูงาน ในช่วงนั้นเป็นฤดูแล้ง(ใบไม้ผลิ)
เมธีเห็นภูเขาที่เต็มด้วยไฟป่าลุกลามไปทั่วทั้งป่าเกิดความสังเวชขึ้น ว่า
"ฤดูใบไม้ผลิ"
...บรรพตสูงเสียดฟ้า นิลสี ทิวทัศน์
สง่างามขจี แผ่นคิ้ว
เห็นระลิ่วอัคคี ภัยน่า ผวา
ผลิบั่นบรรณใบพลิ้ว ร่วงแล้งสังเวช ฯ
...เหมือนประหนึ่งดั่งถ้อย หหัย องค์ตรัส
...บรรพตสูงเสียดฟ้า นิลสี ทิวทัศน์
สง่างามขจี แผ่นคิ้ว
เห็นระลิ่วอัคคี ภัยน่า ผวา
ผลิบั่นบรรณใบพลิ้ว ร่วงแล้งสังเวช ฯ
...เหมือนประหนึ่งดั่งถ้อย หหัย องค์ตรัส
ที่ว่าพระงูไฟ กับทั้ง
พระเจ้าอยู่หัวไท้ สี่สิ่ง นี้หนา
ฤทธิ์แกร่งอย่าพลาดพลั้ง ด่าเก้อปรามาส ฯ
เขาได้ข้อคิดจากสัตว์แมลงเช่น
"ผึ้ง" ธรรมดาผึ้งเป็นแมลงที่มีความขยันและอดทน
จึงเปรียบผึ้งผ่านอารมณ์ที่สุนทรี ว่า
"ชีวิตผึ้ง"
...คนควรเป็นดั่งผึ้ง ขยัน ขันแข็ง
ถูกที่รู้รักกัน เที่ยวค้น
ปรบปีกแล่นบินพลัน พบพร่ำ น้ำหวาน
เพียรหมั่นโดยชอบล้น ส่งพ้นเป้าหมาย ฯ
ความใฝ่ฝันที่อยากเป็น "นักกวีสมัครเล่น"
คนหนึ่ง ดั้งนั้น เขาจึงไม่หยุดนิ่งในการเสาะแสวงหาความรู้อยู่เสมอ เจออะไรที่ไหนก็คิดและถ่อยทอดเป็นร้อยกรองไปหมด
สมัยที่ยังศึกษาอยู่ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษา โดยใช้ภาษาเป็นภาษาถิ่น ว่า
"ความสำคัญของการศึกษา"
...เรียนศึกษาหมั่นฮู้ บ่สาย เพื่อนเอย
พึงครุ่นคิดสบาย เพื่อสร้าง
รากฐานไม่เสื่อมคลาย ประเสริฐ เทียวแล
จุดมุ่งหมายสูงกว้าง แล่นก้าวสำเร็จ ฯ
ในบางครั้งอารมณ์ของความผิดหวังที่สุดหรืออกหักจากหญิงซึ่งเป็นคนรักที่ไว้เนื้อเชื่อใจ
ทำให้ไม่สามารถจะพูดออกมาได้ อึดอัดตันอุราพาให้ใจเศร้าหมองไม่รู้ว่าจะระบายและเล่าให้ใครฟัง
จึงเปรียบอารมณ์หญิง ดังนี้ ว่า
"อารมณ์หญิง"
...อันวารีแม่น้ำ สมุทร วิตถาร
เปรียบดั่งอารมณ์หลุด สุดเศร้า
หญิงใดไม่โทษทุษ ประเสริฐ นักแล
หญิงนั่นรุ่งโรจน์เก้า หยิ่มยิ้มปรีดา ฯ
เปรียบดั่งอารมณ์หลุด สุดเศร้า
หญิงใดไม่โทษทุษ ประเสริฐ นักแล
หญิงนั่นรุ่งโรจน์เก้า หยิ่มยิ้มปรีดา ฯ
การได้เห็นเพื่อนมีความสุขกับครอบครัวที่สมบูรณ์มีพ่อแม่ที่ยังคอยเป็นห่วงเป็นใย
ส่งข่าวคราวมาให้รับรู้รับทราบ เพื่อน ๆ ที่เป็นความหวังของพ่อแม่รอความสำเร็จของลูก
ๆ กลับมา นี่คือความภาคภูมิที่ดีอย่างหนึ่งของความเป็นพ่อแม่
การเห็นเช่นจึงสะท้อนเกิดประกายความคิดผ่านโคลง ๔ สุภาพ บทนี้ ว่า
"รำพันถึงบิดรมารดา"
...รำพึงถึงแม่เพ้อ ถึงพ่อ คณา
สอนสั่งลูกวรขอ กล่าวไว้
เป็นขวัญที่หวังรอ บุตรหน่อ สำเร็จ
มุ่งส่งแรงใจให้ ครุ่นค้นบุตรา ฯ
...รำพึงถึงแม่เพ้อ ถึงพ่อ คณา
สอนสั่งลูกวรขอ กล่าวไว้
เป็นขวัญที่หวังรอ บุตรหน่อ สำเร็จ
มุ่งส่งแรงใจให้ ครุ่นค้นบุตรา ฯ
ชีวิตของคนเรานั้นสั้นนัก
เมื่อมีโอกาสได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา "อัปปมาทธรรม"
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเป็นพระดำรัสสุดท้ายก่อนที่จะปรินิพพาน ซึ่งเป็นธรรมที่ประเสริฐ
เลิศ ดี และงามพร้อม อันเป็นเหตุและผลที่หลาย ๆ คนลืมหรือประมาทพลาดพลั้งไป
อัปปมาทธรรม ดังกล่าว ได้ถ่ายทอด ดังนี้ ว่า
"ไม่ควรประมาท"
...ชีวิตใครเล่ารู้ กทา อาสัญ
พึงใคร่ครวญสัมมา อยู่ด้วย
ประมาทไม่กามา จงเร่ง กอปรสร้าง
ปลูกบ่มบุญใกล้ม้วย ก่อนสิ้นชีวา ฯ
ผ่อนคลายด้วยการไปเที่ยวชมสวนสาธารณะหรือสวนราชพกฤกษ์ในสถานที่ต่าง
ๆ หรือห้วยเขาลำเนาไพร อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน
สถานที่เหล่านี้เป็นแหล่งพักใจชั้นเยี่ยม ที่ก่อให้เกิดความปีติยินดีอย่างมาก คือเป็นความสุขแบบไม่รู้จะอธิบายอย่างไร
อารมณ์กวีสมัครเล่นจึงออก ว่า
"รมณียสถาน"
...อันผาสุกชุ่มชื้น ร่มรื่น ครื้นเครง
ที่พึ่งพาผู้อื่น สู่ข้า
พิงพักเมื่อข่มขืน โอนอ่อน ผ่อนใจ
เคียงคู่ยามเหวว้า ย่อมย้ำนิเวสน์ ฯ
ในค่ำคืนที่ดาวเข้ามาใกล้เดือน
ดาวเกี้ยวเดือน และดาวเคียงเดือน กล่าวคือ ในคืนที่พระจันทร์เต็มดวงมีหมู่ดาวคอยแวดล้อมส่องประกายระยิบระยับเปล่งปลั่งไปทั่วท้องฟ้า
ว่า
"ชมดวงจันทร์หมู่ดาว"
...ศศิธรแจ่มแจ้ง นภา อากาศ
อร่ามงามนัยต์ตา ค่ำนี้
ดวงดาวหมู่ตารา เปล่งปลั่ง เต็มฟ้า
นวลผ่องสวยสดชี้ ส่องหล้าไสว ฯ
เช้าวันที่ ๑๒ สิงหาคม (วันแม่แห่งชาติ)
เมธีเดินทางถึงบ้านที่ต่างจังหวัดโดยสวัสดิภาพ ทันทีที่มาถึงหน้าบ้าน
ภาพที่เขาได้เห็นคือบรรดาญาติผู้ใหญ่โดยเฉพาะตาและยายยืนข้างหน้าจ้องมองมาด้วยความดีใจ
ตาและยายน้ำตาคลอ เมธีไม่รอช้ารีบคุกเข่าลงกราบแทบเท้าของปูชนียบุคคลคือตาและยาย
ท่านทั้งสองเป็นเหมือนพ่อและแม่ของเขา
คิดถึงตาและยายมากเลยครับ (เมธีพูดด้วยน้ำเสียงที่ปลาบปลื้ม)
เราสองคนก็คิดถึงหลานเช่น (ยายพูดด้วยน้ำเสียงที่ปีติยินดีปราโมทย์พร้อมกับลูบศรีษะเบา
ๆ)
ในวันนั้นนั่นเอง
ตาและยายพาครอบครัวรวมถึงเมธีหลานรักไปทำบุญที่วัดประจำหมู่บ้าน เพราะเหตุว่า
วันนั้นเป็นวันพระ และถือโอกาสทำบุญให้พ่อแม่ที่ละจากโลกนี้ไปแล้ว
"พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร" พ่อแม่นั้น มีอุปการะต่อลูกเป็นอย่างมาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
พ่อแม่เปรียบเหมือนพระพรหม เพราะว่าลูก ๆ
ไม่สามารถที่จะตอบพระคุณของท่านทั้งสองให้สิ้นสุดได้ ดังนั้น
การตอบแทนพระคุณพ่อแม่จึงไม่มีวันสิ้นสุด...ไม่สิ้นสุด ๆ
(ใจความความย่อที่พระภิกษุแสดงธรรมเทศนา
ขณะที่นั่งฟังในศาลาการเปรียบพร้อมกับตาและยายและญาติในวันนั้น)
หลักจากกลับมาจากบ้านเกิดแล้ว
เมธีได้ข้อคิดและอุดมคติอะไรหลาย ๆ อย่างในการกลับบ้านครั้งนี้ ได้ทั้งความรัก
กำลังใจ และได้รู้ในเรื่องราวหรือคำสอนที่ไม่เคยรู้มาก่อน
พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจ เข้าถึง และปฏิบัติได้อย่างไม่มีข้อสงสัย โดยเฉพาะในเรื่องของพระคุณของพ่อแม่ใหญ่หลวงยิ่งนัก
ไม่มีสุขไหนเท่ากับการบรรยายถ่ายทอดออกมาได้ จึงแต่งเป็นโคลง ๔ สุภาพ
อย่างภาคภูมิใจ ว่า
"ไม่สิ้นสุด"
...หากจะให้แม่นั้น เกาะบ่า ลูกไว้
แลนั่งถ่ายกรีสา อย่างนี้
แม้ทำอยู่เวลา กาลล่วง ร้อยปี
ก็ไม่สามารถชี้ ตอบแท้คุณท่าน ฯ
...ถ้าลูกทำแม่ให้ ตั้งอยู่ ในบุญ
ให้พึ่งธรรมเป็นคู่ บ่มสร้าง
ศีลทานมั่นส่งสู่ พาท่าน สุขใจ
ทำเช่นนี้เคียงข้าง แม่ได้ลูกดี ฯ
(เนื่องใน
"วันแม่แห่งชาติ ๕๗")
ขอความสวัสดี จงมีแก่ผู้อ่านทุกท่าน ครับ...........
วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
บทกวี "เบญจขันธ์สุญญตา"
"เบญจขันธ์สุญญตา"
o ขันธ์ห้ากำเนิดสร้าง ชีวา
ปฏิจจสัมมา ชอบบ้าง
เรียกสมมตินานา ชีวิต
ธาตุสี่ร่วมสรรค์สร้าง แค่นั้นคนเรา ฯ
o เหตุปัจจัยร่วมขึ้น เป็นกอง
สุมร่างกายประคอง ทราบซึ้ง
หมายจำจดปรองดอง ปรุงแต่ง
บ่อเกิดกมลบึ้ง รับรู้ปัจจัย ฯ
o รูปกายสง่าให้ หมายมอง
พลันร่างเน่าพุพอง เมื่อม้วย
มีเกิดดับทำนอง ธรรมชาติ
หายว่างสูญสิ้นด้วย กลุ่มก้อนมายา ฯ
o เสวยรู้สึกต้อง อารมณ์
รสชาติกระทบปม จิตให้
สุขและทุกข์ระทม กำหนด
พาเวทนาใกล้ ล่วงรู้ความจริง ฯ
o ความจำหมายจดได้ สำคัญ
อดีตปัจจุบัน เช่นนี้
เกิดดับเกิดสูญพลัน ชั่ววูบ
อนิจจาบ่งชี้ เที่ยงแท้ไม่เลย ฯ
o สิ่งปรุงแต่งจิตให้ ดีงาม
เกิดจากการติดตาม คิดค้น
ทำพูดคิดวับวาม พินิจ
ไม่ยึดมั่นหลุดพ้น หากแจ้งไขความ ฯ
o การรอบรู้ทั่วสิ้น วิญญาณ
สะสั่งสมนมนาน ฝากไว้
ปัญญาหยั่งรู้กาล ท่องเที่ยว
หาที่เกิดกายได้ ภพน้อยใหญ่เอง ฯ
o นิพพิทาฝ่ายห้า ขันธ์มาร
บ่มก่อกิเลสพาล ชั่วช้า
อันมนุษย์วันวาน ว้าวุ่น
ข้องอยู่ในโลกหน้า อย่างนี้เช่นเคย ฯ
o ดับขันธ์หมดจดสิ้น นิพพาน
ไม่เร่าร้อนบันดาล ว่างแท้
เย็นสนิทดุจธาร สงบ
โลภโกรธหลงพ่ายแพ้ ไม่ข้องขัดใจ ฯ
(คัมภีร์ปัญญา ป ).นายบุญยัง ชุ่มชื่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)