วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557
คัมภีร์ปัญญา ป.: มาตรฐานวิชาชีพครู กาพย์ยานี ๑๑ โดย คำส่วย ป.
คัมภีร์ปัญญา ป.: มาตรฐานวิชาชีพครู กาพย์ยานี ๑๑ โดย คำส่วย ป.: กาพย์ยานี ๑๑ โดย คำส่วย ป. มาตรฐานวิชาชีพครู ๐ มาตรฐานความรู้ ทั้งควบคู่ประสบการณ์ สองปฏิบัติงาน ...
มาตรฐานวิชาชีพครู กาพย์ยานี ๑๑ โดย คำส่วย ป.
กาพย์ยานี ๑๑ โดย คำส่วย ป.
มาตรฐานวิชาชีพครู
๐
มาตรฐานความรู้ ทั้งควบคู่ประสบการณ์
สองปฏิบัติงาน และสามปฏิบัติตน
๐
มาตรฐานความรู้ สภาครูรับรองคน
ความรู้ตามเหตุผล เก้าประการต่อไปนี้
๐
คุณวุฒิสเป๊ก ภาษาเทคโนโลยี
พัฒนาให้มี หลักสูตรขั้นพื้นฐาน
๐
การจัดการเรียนรู้ สำหรับครูจิตวิญญาณ
วิจัยศึกษาการ วัดผลประเมินผล
๐
ความเป็นครูสืบสาน บริหารจัดการคน
นวัตกรรมดล อีกทั้งสารสนเทศ
๐
ด้านประสบการณ์ครู ฝึกเรียนรู้ทุกประเภท
ปฏิบัติสังเกต วิชาชีพระหว่างเรียน
๐ การสอนเอกสันทัด ปฏิบัติด้วยพากเพียร
ทำวิจัยชั้นเรียน ภายในสถานศึกษา
๐
การปฏิบัติงาน มาตรฐานสิบสองพา
การศึกษาค้นคว้า วิชาการวิชาชีพ
๐
ตัดสินใจคำนึง อย่างลึกซึ้งไม่ร้อนรีบ
มุ่งมั่นสร้างประทีป เติมเต็มศักยภาพ
๐
ปรับปรงแผนการสอน ครบวงจรเกิดผลทราบ
พัฒนาทุกคาบ ผลิตสื่อการเรียนสอน
๐
จัดกิจกรรมเร้า โดยเน้นเฝ้าผลถาวร
รายงานผลการสอน พัฒนาผู้เรียนได้
๐
เป็นแบบอย่างที่ดี ประพฤติชี้ความเลื่อมใส
ร่วมมือผู้อื่นใน โรงเรียนและประชุมชน
๐
แสวงหาข้อมูล เพื่อเกื้อกูลสังเกตตน
ให้ผู้เรียนทุกคน ได้เรียนรู้ทุกสิ่งสรรค์
๐ การปฏิบัติตน ฝึกอดทนจรรยาบรรณ
วิชาชีพตนนั้น ต้องรักเมตตาซื่อสัตย์
๐
ผู้รับบริการ บริหารวิสัยทัศน์
กำลังใจแน่ชัด กายวาจาใจผ่องใส
๐
ผู้ร่วมวิชาชีพ ให้พึงรีบช่วยเหลือไซร้
เกื้อกูลยึดมั่นใน คุณธรรมสามัคคี
๐
ปฏิบัติตนเพื่อ สังคมเชื่อประโยชน์มี
เศรษฐกิจเสรี มั่นประชาธิปไตย ฯ
วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557
คัมภีร์ปัญญา ป.: มาตรฐานวิชาชีพครู
คัมภีร์ปัญญา ป.: มาตรฐานวิชาชีพครู: มาตรฐานวิชาชีพครู 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า ...
คัมภีร์ปัญญา ป.: คัมภีร์ปัญญา ป.: เหมันตกาล..สานรัก (คำส่วย ป.)
คัมภีร์ปัญญา ป.: คัมภีร์ปัญญา ป.: เหมันตกาล..สานรัก (คำส่วย ป.): คัมภีร์ปัญญา ป.: เหมันตกาล..สานรัก (คำส่วย ป.)
มาตรฐานวิชาชีพครู
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
มาตรฐานความรู้
มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า
หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ดังต่อไปนี้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
7. การวิจัยทางการศึกษา
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. ความเป็นครู
สาระความรู้ และ สมรรถนะของครู
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
สาระความรู้
1) ภาษาไทยสำหรับครู
2) ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ สำหรับครู
3) เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
สมรรถนะ
1) สามารถใช้ทักษะในการฟัง
การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทย เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
2) สามารถใช้ทักษะในการฟัง
การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
3) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน
2. การพัฒนาหลักสูตร
สาระความรู้
1)
ปรัชญา แนวคิดทฤษฎีการศึกษา
2)
ประวัติความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย
3)
วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย
4)
ทฤษฎีหลักสูตร
5)
การพัฒนาหลักสูตร
6)
มาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นของหลักสูตร
7)
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
8)
ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
สมรรถนะ
1)
สามารถวิเคราะห์หลักสูตร
2)
สามารถปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างหลากหลาย
3)
สามารถประเมินหลักสูตรได้ ทั้งก่อนและหลังการใช้หลักสูตร
4)
สามารถจัดทำหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้
สาระความรู้
1) ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน
2)
รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
3) การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
4) การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้
5) การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
6) เทคนิค และวิทยาการจัดการเรียนรู้
7) การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้
8) การจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
9) การประเมินผลการเรียนรู้
สมรรถนะ
1) สามารถนำประมวลรายวิชามาจัดทำแผนการเรียนรู้รายภาคและตลอดภาค
2) สามารถออแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
3) สามารถเลือกใช้ พัฒนาและสร้างสื่ออุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
4) สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและจำแนกระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการประเมินผล
4. จิตวิทยาสำหรับครู
สาระความรู้
1)
จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการมนุษย์
2)
จิตวิทยาการศึกษา
3) จิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษา
สมรรถนะ
1) เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน
2) สามารถช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนรู้และพัฒนาได้ตามศักยภาพของตน
3) สามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4) สามารถส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา
สาระความรู้
1) หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
2) การสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการศึกษา
3) การประเมินตามสภาพจริง
4) การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
5) การประเมินภาคปฏิบัติ
6) การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
สมรรถนะ
1) สามารถวัดและประเมินผลได้ตามสภาพความเป็นจริง
2) สามารถนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และหลักสูตร
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
สาระความรู้
1) ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ
2) ภาวะผู้นำทางการศึกษา
3) การคิดอย่างเป็นระบบ
4) การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
5) มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร
6) การติดต่อสื่อสารในองค์กร
7) การบริหารจัดการชั้นเรียน
8) การประกันคุณภาพการศึกษา
9) การทำงานเป็นทีม
10) การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
11) การจัดโครงการฝึกอาชีพ
12) การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
13) การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
14) การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
สมรรถนะ
1) มีภาวะผู้นำ
2) สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
3) สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4) สามารถในการประสานประโยชน์
5) สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ
7. การวิจัยทางการศึกษา
สาระความรู้
1) ทฤษฎีการวิจัย
2) รูปแบบการวิจัย
3) การออกแบบการวิจัย
4) กระบวนการวิจัย
5) สถิติเพื่อการวิจัย
6) การวิจัยในชั้นเรียน
7) การฝึกปฏิบัติการวิจัย
8) การนำเสนอผลงานวิจัย
9) การค้นคว้า ศึกษางานวิจัยในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
10) การใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหา
11) การเสนอโครงการเพื่อทำวิจัย
สมรรถนะ
1)
สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2) สามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
สาระความรู้
1) แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
2) เทคโนโลยีและสารสนเทศ
3) การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
4) แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
5) การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม
สมรรถนะ
1) สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
2) สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
3) สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
9. ความเป็นครู
สาระความรู้
1) ความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู
2) พัฒนาการของวิชาชีพครู
3) คุณลักษณะของครูที่ดี
4.) การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู
5) การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู
6) การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ
7) เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
8) จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
9) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
สมรรถนะ
1) รัก เมตตา และปรารถนาดีต่อผู้เรียน
2) อดทนและรับผิดชอบ
3) เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้นำทางวิชาการ
4) มีวิสัยทัศน์
5) ศรัทธาในวิชาชีพครู
6) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
มาตรฐานประสบการณ์ของครู
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่า
1 ปีและผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ดังนี้
1.
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
2.
การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
สาระการฝึกทักษะ และ สมรรถนะของครู
1. การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
สาระการฝึกทักษะ
1) การบูรณาการความรู้ทั้งหมดมาใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา
2)
ฝึกปฏิบัติการวางแผนการศึกษาผู้เรียน โดยการสังเกต สัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลการศึกษา
3)
มีส่วนร่วมกับสถานศึกษาในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้ง การนำหลักสูตรไปใช้
4)
ฝึกการจัดทำแผนการเรียนรู้ร่วมกับสถานศึกษา
5)
ฝึกปฏิบัติการดำเนินการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยเข้าไป
มีส่วนร่วมในสถานศึกษา
6)
การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
สมรรถนะ
1) สามารถศึกษาและแยกแยะผู้เรียนได้ตามความแตกต่างของผู้เรียน
2) สามารถจัดทำแผนการเรียนรู้
3) สามารถฝึกปฏิบัติการสอน ตั้งแต่การจัดทำแผนการสอน ปฏิบัติการสอน ประเมินผลและปรับปรุง
4) สามารถจัดทำโครงงานทางวิชาการ
2. การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
สาระการฝึกทักษะ
1) การบูรณาการความรู้ทั้งหมดมาใช้ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
2) การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
3) การจัดกระบวนการเรียนรู้
4) การเลือกใช้ การผลิตสื่อและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้
5) การใช้เทคนิคและยุทธวิธีในการจัดการเรียนรู้
6) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
7) การทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
8) การนำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
9) การบันทึกและรายงานผลการจัดการเรียนรู้
10) การสัมมนาทางการศึกษา
สมรรถนะ
1) สามารถจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ
2) สามารถประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน
3) สามารถทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
4) สามารถจัดทำรายงานผลการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียน
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงาน หรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม
การอบรม การสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจน
มาตรฐานที่
2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง
ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน หมายถึง การเลือกอย่างชาญฉลาด ด้วยความรัก และหวังดีต่อผู้เรียน
ดังนั้น ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง
การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของ ครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน
ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิมรวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
หมายถึง การเลือกใช้ ปรับปรุงหรือสร้างแผนการสอน บันทึกการสอน หรือ เตรียมการสอนในลักษณะอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้น ผลิตเลือกใช้ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์
เทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้
ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง
ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
หมายถึง การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ
ปัจจัย และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้
1) ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา
และเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน
2)
เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้น ๆ
3)
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนด ที่เกิดกับผู้เรียน
4)
ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
หมายถึง การแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา
และจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธา
และถือเป็นแบบอย่าง
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
การร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง
ๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษาmและร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
การร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญรับฟังความคิดเห็นยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน
และร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน
และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู
สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง พัฒนางาน
และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
หมายถึง การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยการนำเอาปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในการเรียนและการจัดกิจกรรมอื่นๆ
ในโรงเรียนมากำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร
เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่งที่จะนำเอาวิกฤติต่างๆ มาเป็นโอกาสในการพัฒนา
ครูจำเป็นต้องมองมุมต่าง ๆ ของปัญหาแล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาของผู้เรียน
ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มีสติในการแก้ปัญหา
มิได้ตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ด้วยอารมณ์หรือแง่มุมแบบตรงตัว ครูสามารถมองหักมุมในทุก ๆ
โอกาส มองเห็นแนวทางที่นำสู่ผลก้าวหน้าของผู้เรียน
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง
พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองอยู่เสมอจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก
ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3.
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ
ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4.
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5.
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
6.
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
7.
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค
โดยไม่ เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8.
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์
โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
9.
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และ
พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ ของส่วนร่วมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข
วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)